วันอาทิตย์ที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2556

เพลงอาเซียน



เพลง ประจำอาเซียน



ความหมาย

ภาษาอังกฤษคำแปลเนื้อเพลงภาษาไทย
Raise our flag high, sky high.
Embrace the pride in our heart.
ASEAN we are bonded as one.
Look'in out to the world.
For peace our goal from the very start
And prosperity to last.
We dare to dream,
We care to share.
Together for ASEAN.
We dare to dream,
We care to share
For it's the way of ASEAN.
ชูธงเราให้สูงสุดฟ้า
โอบเอาความภาคภูมิไว้ในใจเรา
อาเซียนเราผูกพันเป็นหนึ่ง
มองมุ่งไปยังโลกกว้าง
สันติภาพ คือเป้าหมายแรกเริ่ม
ความเจริญ คือปลายทางสุดท้าย
เรากล้าฝัน
และใส่ใจต่อการแบ่งปัน
ร่วมกันเพื่ออาเซียน
เรากล้าฝัน
และใส่ใจต่อการแบ่งปัน
นี่คือวิถีอาเซียน
พลิ้วลู่ลม โบกสะบัด
ใต้หมู่ธงปลิวไสว
สัญญาณแห่งสัญญาทางใจ
วันที่เรามาพบกัน
อาเซียนเป็นหนึ่งดังที่ใจเราปรารถนา
เราพร้อมเดินหน้าไปทางนั้น
หล่อหลอมจิตใจ
ให้เป็นหนึ่งเดียว
อาเซียนยึดเหนี่ยวสัมพันธ์
ให้สังคมนี้
มีแต่แบ่งปัน
เศรษฐกิจมั่นคงก้าวไกล
     ซึ่งเนื้อเพลงได้สะท้อนความสำคัญตามเสาหลักของประชาคมอาเซียนทั้ง 3 เสาหลักคือ ประชาคมความมั่นคงอาเซียน ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน โดยเพลงนี้มาจากการจัดประกวดให้เป็นไปตามกฎบัตรอาเซียนบทที่ 40 ซึ่งระบุให้อาเซียนมีเพลงประจำอาเซียน สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จึงได้มอบหมายให้ประเทศไทยเป็นผู้ดำเนินการจัดการประกวดเพลง ประจำอาเซียน โดยที่ประชุมประเทศสมาชิกอาเซียนได้เห็นชอบให้กำหนดรูปแบบการแข่งขันเป็น open competition ทั้งนี้ อาเซียนได้มอบหมายให้สำนักเลขานุการอาเซียนในแต่ละประเทศกลั่นกรองคุณสมบัติเบื้องต้นและจัดส่งให ้ประเทศไทยภายในเดือนกันยายน พ.ศ. 2551
     โดยมีกรรมการจากประเทศสมาชิกอาเซียนประเทศละ 1 คน ซึ่งคณะกรรมการการประกวดได้คัดเลือกเพลงจำนวน 10 เพลงให้เข้ารอบสุดท้าย จากผลงานที่ส่งเข้าประกวดทั้งหมด 99 เพลง และได้ดำเนินการประกวดรอบตัดสิน เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 โดยคณะผู้ตัดสินประกอบด้วยกรรมการจากอาเซียน 10 คนในรอบแรก และจากประเทศนอกอาเซียนอีก 3 คน ได้แก่ ประเทศญี่ปุ่น ประเทศจีน และประเทศออสเตรเลีย โดยที่ประชุมมีมติเป็นเอกฉันท์เลือกเพลง “The ASEAN Way” (ดิอาเซียนเวย์) ของประเทศไทย ซึ่งประพันธ์โดยกิตติคุณ สดประเสริฐ (ทำนองและเรียบเรียง) สำเภา ไตรอุดม (ทำนอง) และพะยอม วลัยพัชรา (เนื้อร้อง) ให้เป็นเพลงประจำอาเซียน ซึ่งถือเป็นความภาคภูมิใจของประเทศไทยได้รับเกียรติสูงสุดนี้



วันพุธที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2556

The ASEAN Way
Raise our flag high, sky high
Embrace the pride in our heart
ASEAN we are bonded as one
Looking out to the world.
For peace, our goal from the very start
And prosperity to last.

We dare to dream we care to share.
Together for ASEAN
we dare to dream,
we care to share for it's the way of ASEAN


 คำแปล

ชูธงเราให้สูงสุดฟ้า โอบเอาความภาคภูมิไว้ในใจเรา
อาเซียนเราผูกพันเป็นหนึ่ง
มองมุ่งไปยังโลกกว้าง
สันติภาพ คือเป้าหมายแรกเริ่ม
ความเจริญ คือปลายทางสุดท้าย
เรากล้าฝัน
และใส่ใจต่อการแบ่งปัน
ร่วมกันเพื่ออาเซียน
เรากล้าฝัน
และใส่ใจต่อการแบ่งปัน
นี่คือวิถีอาเซียน

 เนื้อร้องภาษาไทยอย่างเป็นทางการ

พลิ้วลู่ลม โบกสะบัด ใต้หมู่ธงปลิวไสว
สัญญาณแห่งสัญญาทางใจ
วันที่เรามาพบกับ
อาเซียนเป็นหนึ่งดังที่ใจเราปรารถนา
เราพร้อมเดินหน้าไปทางนั้น
หล่อหลอมจิตใจให้เป็นหนึ่งเดียว
อาเซียนยึดเหนี่ยวสัมพันธ์
ให้สังคมนี้มีแต่แบ่งปัน
เศรษฐกิจสังคมก้าวไกล
 
 
 
ทำความเข้าใจอาเซียน
 
 
 
 
 
 
ท่องโลกอาเซียน

วันพุธที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

 การทักทาย

บรูไน ซาลามัต ดาตั'
อินโดนีเซีย ซาลามัต เซียง
 มาเลเซีย ซาลามัต ดาตัง
 ฟิลิปปินส์ กูมุสตา
 สิงคโปร์ หนีห่าว
 ไทย สวัสดี
กัมพูชา ซัวสเด
 ลาว สะบายดี
พม่า มิงกาลาบา
 เวียดนาม ซินจ่าว

คำขอโทษ
      • ไทย           :   ขอโทษ ครับ / ค่ะ
      • ลาว            :  ขอโทด
      • อินโดนีเซีย   : เปอ มิ สิ /นิ วา กัง
      • พม่า            : ควินโละ บ่าหน่อ
      • กัมพูชา        : ขยมโซ้มโต๊ก
      • เวียดนาม      : ซิน โหลย (Xin Loi)
      • สิงค์โปร์       :
      • มาเลเซีย      : (มาอาฟ) maaf
      • บรูไน           :
      • ฟิลิปปินส์     : มาวาลาง-กาลัง

                                          คำขอบคุณ

      • ไทย            :   ขอบคุณ / ขอบใจ
      • ลาว            :   ขอบใจ 
      • อินโดนีเซีย   :  เตอร ริมา กาสิ/ มาตู สุค สมา
      • พม่า            :  เจซูติน บาแด
      • กัมพูชา        :  ออกุน, ออกุนเจริญ
      • เวียดนาม      :  ตาม เบียด (Tam Biet)
      • สิงค์โปร์       :
      • มาเลเซีย      :  เตริมา กะชิ Terima kasih
      • บรูไน           :
      • ฟิลิปปินส์     :  Maraming Salamat มารามิงสลามัต

การแต่งกายของประเทศสมาชิกอาเซียน


                                   
       สำหรับชุดของผู้ชาย เรียกว่า บาจู มลายู (Baju Melayu) ส่วนของชุดผู้หญิงเรียกว่า บาจูกุรัง (Baja Kurung) คล้ายกับชุดประจำชาติของประเทศมาเลเซีย ผู้หญิงบรูไนจะแต่งกายด้วยเสื้อผ้าที่มีสีสันสดใสโดยมากมักจะเป็นเสื้อผ้าที่คลุมร่างกายตั้งแต่ศรีษะจรดเท้า ส่วนผู้ชายจะแต่งกายด้วยเสื้อแขนยาว ตัวเสื้อยาวถึงหัวเข่า นุ่งกางเกงขายาวแล้วนุ่งโสร่ง
การแต่งกายของกัมพูชา
                                   
       ซัมปอต (Sampot) เป็นเครื่องแต่งกายประจำชาติของประเทศกัมพูชา สำหรับชุดผู้หญิง ซึ่งมีความคล้ายคลึงกับผ้านุ่งของประเทศลาวและไทย มีหลายหลายรูปแบบ สำหรับผู้ชายนั้นมักสวมใส่เสื้อที่ทำจากผ้าไหมหรือผ้าฝ้ายทั้งแขนสั้นและแขนยาว พร้อมทั้งสวมกางเกงขายาว

                                   
       เคบาย่า (Kebaya) เป็นชุดประจำชาติของประเทศอินโดนีเซียสำหรับผู้หญิง มีลักษณะเป็นเสื้อแขนยาวผ่าหน้า กลัดกระดุม ตัวเสื้อจะมีสีสันสดใส ปักฉลุเป็นลายลูกไม้ ส่วนผ้าถุงที่ใช้จะเป็นผ้าถุงแบบบาติกสำหรับการแต่งกายของผู้ชายมักจะสวมใส่เสื้อแบบบาติกและนุ่งกางเกงขายาว และนุ่งโสร่งเมื่ออยู่บ้านหรือประกอบพิธีละหมาดที่มัสยิด
การแต่งกายของลาว
                                    

       ผู้หญิงลาวจะนุ่งผ้าซิ่น และเสื้อแขนยาวทรงกระบอก สำหรับผู้ชายมักแต่งกายแบบสากลหรือนุ่งโจงกระเบน สวมเสื้อชั้นนอกกระดุกเจ็ดเม็ดคล้ายเสื้อพระราชทานของไทย
การแต่งกายของมาเลเซีย
                                  
       สำหรับชุดของผู้ชาย เรียกว่า บาจู มลายู (Beju Melayu) ประกอบด้วยเสื้อแขนยาวและกางเกงขายาวที่ทำจากผ้าไหม ผ้าฝ้ายหรือโพลีเอสเตอร์ที่มีส่วนผสมของผ้าฝ้าย สำหรับชุดของผู้หญิง เรียนกว่า บาจูกุรุง (Baja Kurung) ประกอบด้วยเสื้อคลุมแขนยาวและกระโปรงยาว
การแต่งกายของฟิลิปปินส์

                                    

       ผู้ชายจะนุ่งกางเกงขายาวและสวมเสื้อที่เรียกว่า บารองตากาล็อก ซึ่งตัดเย็บด้วยผ้าใยสัปปะรด มีบ่า คอตั้ง แขนยาว ที่ปลายแขนเสื้อที่ข้อมือจะปักลวดลาย ส่วนผู้หญิงนุ่งกระโปรงยาว ใส่เสื้อแขนสั้นจับจีบยกตั้งขึ้นเหนือไหล่คล้ายปีกผีเสื้อ เรียกว่า บาลินตาวัก
การแต่งกายของสิงคโปร์
                                  
       สิงคโปรไม่มีชุดประจำชาติเป็นของตนเอง เนื่องจากประเทศสิงคโปร์แบ่งออกเป็น 4 เชื้อชาติหลัก ได้แก่ จีน มาเลย์ อินเดีย และชาวยุโรป ซึ่งแต่ละเชื้อชาติก็มีชุดประจำชาติเป็นของตนเอง เช่น ผู้หญิงมลายูในสิงคโปร์ จะใส่ชุดเกบาย่า (Kebaya) ตัวเสื้อจะมีสีสันสดใส ปักฉลุเป็นลายลูกไม้ หากเป็นชาวจีน ก็จะสวมเสื้อแขนขาว คอจีน เสื้อผ้าซ่อนกระดุม สวมกางเกงขายาว โดยเสื้อจะใช้ผ้าสีเรียบหรือผ้าแพรจีนก็ได้้
การแต่งกายของไทย
                                  
       สำหรับชุดผู้หญิงคือ ชุดไทยจักรี เป็นชุดไทยที่ประกอบด้วยสไบเฉียง ใช้ผ้ายกมีเชิงหรือยกทั้งตัวซิ่นมีจีบยกข้างหน้า มีชายพกใช้เข็มขัดไทยคาด ส่วนท่อนบนเป็นสไบ จะเย็บให้ติดกับซิ่นเป็นท่อนเดียวกันหรือ จะมีผ้าสไบห่มต่างหาก็ได้ เปิดบ่าข้างหนึ่ง ชายสไบคลุมไหล่ ทิ้งชายด้านหลังยาวตามที่เห็นสมควรความสวยงามอยู่ที่เนื้อผ้าการเย็บและรูปทรงของผู้ที่สวยใช้เครื่องประดับได้งดงาม สมโอกาสในเวลาค่ำคืน สำหรับชุดผู้ชายคือ ใส่เสื้อพระราชทาน
การแต่งกายของเวียดนาม

                                    
       อ่าวหญ่าย เป็นชุดประจำชาติของประเทศเวียดนามที่ประกอบไปด้วยชุดผ้าไหมที่พอดีตัวสวมทับกางเกงขาวยาวซึ่งเป็นชุดที่มักสวม ใส่ในงานแต่งงานและพิธีการสำคัญของประเทศมีลักษณะคล้ายชุดกี่เพ้าของจีน ในปัจจุบันเป็นชุดที่ได้รับความนิยมจากผู้หญิงเวียดนาม ส่วนผู้ชายเวียดนามจะสวมใส่ชุดอ่าหญ่ายในพิธีแต่งานหรือพิธีศพ
การแต่งกายของพม่า

                                     
       ลองยี เป็นชุดแต่งกายประจำชาติของประเทศพม่า โดยมีการออกแบบในรูปทรงกระบอก มีความยาวจากเอวจรดปลายเท้า การสวมใส่ใช้วิธีการขมวดผ้าเข้าด้วยกันโดยไม่มัดหรือพับขึ้นมาถึงหัวเข่าเพื่อความสะดวกในการสวมใส่

วันพุธที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

อาเซียน+3

                     อาเซียน +3 ประกอบด้วยสมาชิก 13 ชาติ คือ 10 ชาติสมาชิกอาเซียน รวมกับจีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ ซึ่งมีประชากรรวมทั้งสิ้นกว่า 2,000 ล้านคน หรือหนึ่งในสามของประชากรโลก แต่เมื่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) เข้าด้วยกัน จะทำให้มีมูลค่าถึง 9 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณร้อยละ 16 ของจีดีพีโลก ขณะที่ยอดเงินสำรองต่างประเทศรวมกันจะสูงถึง 3.6 ล้านล้านเหรียญสหรัฐซึ่งมากกว่ากึ่งหนึ่งของเงินสำรองต่างประเทศของโลก โดยตัวเลขทางเศรษฐกิจเหล่านี้ แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าอาเซียน+3 จะมีบทบาทเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญที่จะพัฒนาเศรษฐกิจให้มีความก้าวหน้าต่อไปในอนาคต


อาเซียน+6

                  "อาเซียน +6" ก็คือ การรวมกลุ่มกันของ 16 ประเทศ ที่ประกอบไปด้วยกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศ ได้แก่ บรูไนดารุสซาลาม, พม่า, กัมพูชา, อินโดนีเซีย, ฟิลิปปินส์, มาเลเซีย, ลาว, สิงคโปร์, ไทย และเวียดนาม รวมกับประเทศที่อยู่นอกอาเซียนอีก 6 ประเทศ คือ จีน, ญี่ปุ่น, เกาหลีใต้, ออสเตรเลีย, นิวซีแลนด์ และอินเดีย ซึ่งหากนับจำนวนประชากรในกลุ่มนี้แล้ว จะพบว่า อาเซียน +6 มีประชากรรวมกันกว่า 3 พันล้านคน หรือคิดเป็น 50% ของประชากรโลกเลยทีเดียว

อาเซียน+8

                     อาเซียน และ 8 ประเทศคู่เจรจา ประกอบด้วย สหรัฐฯ จีน รัสเซีย ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ อินเดีย ออสเตรเลีย และ นิวซีแลนด์
 

วันจันทร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2556

อาเซียน

                   อาเซียน คือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of South East AsianNations หรือ ASEAN) โดยการจัดตั้งในครั้งแรกมีจุดประสงค์เพื่อ ส่งเสริมและร่วมมือในเรื่องสันติภาพ,ความมั่นคง, เศรษฐกิจ, องค์ความรู้, สังคมวัฒนธรรม บนพื้นฐานความเท่าเทียมกันและผลประโยชน์ร่วมกันของประเทศสมาชิก
โดย อาเซียน ได้ก่อตั้งขึ้นโดย ปฏิญญากรุงเทพ (Bangkok Declaration) เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ.2510 โดยมีผู้ร่วมก่อตั้ง 5 ประเทศคือ
1.ไทย โดย พันเอก (พิเศษ) ถนัด คอมันตร์ (รัฐมนตรีต่างประเทศ)
2.สิงคโปร์ โดย นายเอส ราชารัตนัม (รัฐมนตรีต่างประเทศ)
3.มาเลเซีย โดย ตุน อับดุล ราชัก บิน ฮุสเซน (รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีกลาโหมและรัฐมนตรีกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ)
4.ฟิลิปปินส์ โดย นายนาซิโซ รามอส (รัฐมนตรีต่างประเทศ)
5.อินโดนีเซีย โดย นายอาดัม มาลิก (รัฐมนตรีต่างประเทศ)
บรูไน


1.บรูไนดารุสซาลาม (Brunei Darussalam)

ประเทศบรูไน มีชื่อเป็นทางการว่า "เนการาบรูไนดารุสซาลาม" มีเมือง "บันดาร์เสรีเบกาวัน" เป็นเมืองหลวง ถือเป็นประเทศที่มีขนาดไม่ใหญ่นัก เพราะมีพื้นที่ประมาณ 5,765 ตารางกิโลเมตร ปกครองด้วยระบบสมบูรณาญาสิทธิราช โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข มีประชากร 381,371 คน (ข้อมูลปี พ.ศ.2550) โดยประชากรเกือบ 70% นับถือศาสนาอิสลาม และใช้ภาษามาเลย์เป็นภาษาราชการ


กัมพูชา

2.ราชอาณาจักรกัมพูชา (Kingdom of Cambodia)

เมืองหลวงคือ กรุงพนมเปญ เป็นประเทศที่มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศไทยทางทิศเหนือ และทิศตะวันตก มีพื้นที่ 181,035 ตารางกิโลเมตร หรือขนาดประมาณ 1 ใน 3 ของประเทศไทย มีประชากร 14 ล้านคน (ข้อมูลปี พ.ศ.2550) โดยประชากรกว่า 80% อาศัยอยู่ในชนบท 95% นับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาท ใช้ภาษาเขมรเป็นภาษาราชการ แต่ก็มีหลายคนที่พูดภาษาอังกฤษ ฝรั่งเศส และเวียดนามได้


อินโดนีเซีย


3.สาธารณรัฐอินโดนีเซีย (Republic of Indonesia)

เมืองหลวงคือ จาการ์ตา ถือเป็นประเทศหมู่เกาะขนาดใหญ่ที่สุดในโลก โดยมีพื้นที่ 1,919,440 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรมากถึง 240 ล้านคน (ข้อมูลปี พ.ศ.2553) โดย 61% อาศัยอยู่บนเกาะชวา ส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม และใช้ภาษา Bahasa Indonesia เป็นภาษาราชการ


ลาว

4.สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) (The Lao People's Democratic Republic of Lao PDRเมืองหลวงคือ เวียงจันทน์ ติดต่อกับประเทศไทยทางทิศตะวันตก โดยประเทศลาวมีพื้นที่ประมาณครึ่งหนึ่งของประเทศไทย คือ 236,800 ตารางกิโลเมตร พื้นที่กว่า 90% เป็นภูเขาและที่ราบสูง และไม่มีพื้นที่ส่วนใดติดทะเล ปัจจุบัน ปกครองด้วยระบอบสังคมนิยม โดยมีประชากร 6.4 ล้านคน ใช้ภาษาลาวเป็นภาษาหลัก แต่ก็มีคนที่พูดภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และภาษาฝรั่งเศสได้ ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ 

มาเลเซีย


5.ประเทศมาเลเซีย (Malaysia)

เมืองหลวงคือ กรุงกัวลาลัมเปอร์ เป็นประเทศที่ตั้งอยู่ในเขตศูนย์สูตร แบ่งเป็นมาเลเซียตะวันตกบคาบสมุทรมลายู และมาเลเซียตะวันออก ตั้งอยู่บนเกาะบอร์เนียว ทั้งประเทศมีพื้นที่ 329,758 ตารางกิโลเมตร จำนวนประชากร 26.24 ล้านคน นับถือศาสนาอิสลามเป็นศาสนาประจำชาติ ใช้ภาษา Bahasa Melayu เป็นภาษาราชการ


ฟิลิปปินส์


6.สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ (Republic of the Philippines)

เมืองหลวงคือ กรุงมะนิลา ประกอบด้วยเกาะขนาดต่าง ๆ รวม 7,107 เกาะ โดยมีพื้นที่ดิน 298.170 ตารางกิโลเมตร มีประชากร 92 ล้านคน (ข้อมูลปี พ.ศ.2553) ส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์ และเป็นประเทศที่มีประชากรนับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกเป็นอันดับ 4 ของโลก มีการใช้ภาษาในประเทศมากถึง 170 ภาษา แต่ใช้ภาษาอังกฤษ และภาษาตากาลอก เป็นภาษาราชการ



สิงคโปร์


7.สาธารณรัฐสิงคโปร์ (The Republic of Singapore)

เมืองหลวงคือ กรุงสิงคโปร์ ตั้งอยู่บนตำแหน่งยุทธศาสตร์ที่เป็นศูนย์กลางคมนาคมทางเรือของอาเซียน จึงเป็นประเทศที่มีการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจมากที่สุดในย่านนี้ แม้จะมีพื้นที่ราว 699 ตารางกิโลเมตรเท่านั้น มีประชากร 4.48 ล้านคน ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาทางการ แต่มีภาษามาเลย์เป็นภาษาประจำชาติ ปัจจุบันใช้การปกครองแบบสาธารณรัฐ (ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา มีสภาเดียว)


ประเทศไทย


8.ราชอาณาจักรไทย (Kingdom of Thailand)

เมืองหลวงคือกรุงเทพมหานคร มีพื้นที่ 513,115.02 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วย 77 จังหวัด มีประชากร 65.4 ล้านคน (ข้อมูลปี พ.ศ.2553) ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ และใช้ภาษาไทยเป็นภาษาราชการ ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นองค์ประมุขของประเทศ




เวียดนาม

9.สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม (The Socialist Republic of Vietnam)

เมืองหลวงคือ กรุงฮานอย มีพื้นที่ 331,689 ตารางกิโลเมตร จากการสำรวจถึงเมื่อปี พ.ศ.2553 มีประชากรประมาณ 88 ล้านคน ประมาณ 25% อาศัยอยู่ในเขตเมือง ส่วนใหญ่ร้อยละ 70 นับถือศาสนาพุทธนิกายมหายาน ที่เหลือนับถือศาสนาคริสต์ ปัจจุบัน ปกครองด้วยระบอบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์



ประเทศพม่า


10.สหภาพพม่า (Union of Myanmar)

มีเมืองหลวงคือ เนปิดอว ติดต่อกับประเทศไทยทางทิศตะวันออก โดยทั้งประเทศมีพื้นที่ประมาณ 678,500 ตารางกิโลเมตร ประชากร 48 ล้านคน กว่า 90% นับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาท หรือหินยาน และใช้ภาษาพม่าเป็นภาษาราชการ